เลือกใช้ ฝ้าใต้หลังคา แบบไหนดีที่ช่วยให้บ้านเย็น

เลือกใช้ ฝ้าใต้หลังคา แบบไหนดีที่ช่วยให้บ้านเย็น

19 ก.ย. 2565   ผู้เข้าชม 547

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน ยิ่งถ้าเมื่อแสงแดดส่องมายังหลังคา หน้าต่าง หรือประตู ก็จะยิ่งทำให้ตัวบ้านมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้หลาย ๆ บ้านจึงพยายามหาวิธีต่างๆ มาช่วยลดความร้อนภายในบ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ หรือการติดผ้าม่าน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการติด ฝ้าใต้หลังคา ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้บ้านของคุณเย็นขึ้น และไม่สะสมความร้อนได้เช่นกัน 

ทำความรู้จักวัสดุที่ใช้ทำฝ้าใต้หลังคา

วัสดุฝ้าที่นำมาใช้ทำฝ้าใต้หลังคามีอยู่หลายประเภทให้เลือก ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทก็มี ข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ฝ้าที่เหมาะสมกับบ้านและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด เจ้าของบ้านจึงควรศึกษาวัสดุฝ้าสำหรับติดตั้งฝ้าใต้หลังคาก่อนเลือกนำมาใช้ในการสร้างบ้าน 

1. ฝ้าสมาร์ทบอร์ด

ฝ้าสมาร์ทบอร์ดเป็นวัสดุฝ้าที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้เป็นทั้งฝ้าภายในและภายนอกบริเวณบ้านได้ ซึ่งในปัจจุบันฝ้าสมาร์ทบอร์ดมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เข้ากับบ้านได้หลากหลายสไตล์ โดยฝ้าสมาร์ทบอร์ดมีข้อดีและข้อเสีย ดังต่อไปนี้

ข้อดี ข้อเสีย
  •  ระบายอากาศได้ดี
  • แข็งแรงทนทาน
  • ติดตั้งง่าย 
  • ระบายความร้อนได้ดี
  • เห็นรอยต่อระหว่างแผ่นชัดเจน

 


2. ฝ้าไวนิล 

วัสดุฝ้าประเภทฝ้าไวนิลผลิตจาก UPVC ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังหาซื้อง่ายและติดตั้งง่าย ทำให้เป็นวัสดุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการทำฝ้าเป็นอย่างมาก สำหรับฝ้าไวนิลมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้  

ข้อดี ข้อเสีย
  • ทนความชื้นได้ดี 
  • มีหลากหลายลวดลาย
  • ช่วยลดความร้อนใต้หลังคาได้
  • ติดตั้งง่าย
  • น้ำหนักเบา
  • เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีได้ 
  • ราคาค่อนข้างสูง

 


3. ฝ้าไม้

โดยทั่วไปหากเลือกใช้ฝ้าไม้ในการสร้างบ้านจะนิยมใช้เป็นไม้เนื้อแข็งในการทำฝ้าใต้หลังคา เช่น ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง ซึ่งการใช้ฝ้าไม้นับว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงของฝ้าได้เป็นอย่างดี และด้วยลวดลายที่แตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะเนื้อไม้ ทำให้สามารถใช้กับบ้านได้หลายได้รูปแบบ ซึ่งฝ้าไม้นั้นมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย
  • เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ
  • มีลวดลายสวยงามและเฉพาะตัว
  • แข็งแรงทนทาน 
  • ดูแลรักษายาก ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน เช่น การอบแห้ง การทาน้ำยาเคลือบรักษาเนื้อไม้และป้องกันแมลง
  • ราคาค่อนข้างสูง
  • เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีได้

4. ฝ้ายิปซัม

เป็นฝ้าที่ผลิตจากผงแร่ยิปซัมอัดแน่น แล้วประกบด้วยกระดาษแข็ง สามารถฉาบตกแต่งปิดรอยต่อได้อย่างเรียบเนียนสวยงาม แต่เหมาะกับการใช้เป็นฝ้าสำหรับติดตั้งภายในตัวบ้านมากกว่าติดตั้งนอกบ้าน เนื่องจากไม่ทนต่อน้ำและแสงแดดมากนัก โดยจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ไปดูกัน

ข้อดี ข้อเสีย
  • น้ำหนักเบา 
  • ติดตั้งง่ายและสะดวก 
  • มีลวดลายให้เลือกหลากหลาย
  • ผิวเรียบเนียนสวยงาม ไร้รอยต่อ
  • แข็งแรงทนทานน้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ
  • ไม่ทนความชื้น 
  • ไม่ช่วยเรื่องระบายอากาศ

 


5. ฝ้าอลูมิเนียม 

วัสดุฝ้าอลูมิเนียมชนิดนี้มักจะนิยมนำมาใช้กับอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารสาธารณะมากกว่าใช้สำหรับสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัย เพราะมีราคาสูง และมีข้อดีข้อเสีย ดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย
  • แข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานนาน
  • ทนความชื้น ไม่เป็นสนิม
  • ไม่กันความร้อน
  • ราคาสูง

 

จะเห็นได้ว่าฝ้าใต้หลังคามีให้เลือกหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลและความเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งนอกจากฝ้าจะช่วยเก็บโครงสร้างบ้านให้เป็นระเบียบแล้ว ยังสามารถช่วยลดความร้อน แถมยังเพิ่มความสวยงามให้กับบ้านได้อีกด้วย 

เพื่อลดปัญหาการสร้างบ้านที่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน จึงควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งฝ้าโดยเฉพาะ หรือเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน พร้อมรับประกันผลงาน เพื่อให้คุณได้ฝ้าใต้หลังคาที่สวยงาม มีคุณภาพ และเหมาะสมกับตัวบ้าน ซึ่งที่ปัญญาฤทธิ์ โฮม บริษัทรับสร้างบ้าน เชียงใหม่ เรารับสร้างบ้านอย่างครบวงจร มีทีมงานคุณภาพคอยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย หากเลือกสร้างบ้านกับบริษัทของเรา บ้านของคุณจะเป็นบ้านที่สวยงาม โดดเด่น และตอบโจทย์การใช้งานอย่างแน่นอน  


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

5 ข้อควรระวัง! ก่อนสร้างบ้านที่มี ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ด้วย
14 พ.ย. 2564

5 ข้อควรระวัง! ก่อนสร้างบ้านที่มี ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ด้วย

รอบรู้เรื่องบ้าน
5 สัญญาณเตือน! บ้านของคุณต้องได้รับการดูแลเร่งด่วน
24 พ.ย. 2564

5 สัญญาณเตือน! บ้านของคุณต้องได้รับการดูแลเร่งด่วน

รอบรู้เรื่องบ้าน
บริษัทรับสร้างบ้าน VS ผู้รับเหมาก่อสร้าง เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ?
21 เม.ย. 2564

บริษัทรับสร้างบ้าน VS ผู้รับเหมาก่อสร้าง เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ?

รอบรู้เรื่องบ้าน