บอกลา "ปัญหาบ้านทรุด" สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้มากวนใจ

บอกลา "ปัญหาบ้านทรุด" สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้มากวนใจ

18 พ.ย. 2564   ผู้เข้าชม 177

ในการสร้างบ้านขึ้นมาสักหลังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอาจไม่ได้มีเพียงการออกแบบเพื่อความสวยงามหรือน่าอยู่อาศัยเท่านั้น  แต่หนึ่งในสิ่งที่เราควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกนั่นก็คือ โครงสร้างที่แข็งแรง และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยทุกคนในบ้าน หากเราไม่ได้วางแผนรับมือเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจทำให้บ้านทรุดตัวไว้ตั้งแต่ต้น ก็อาจจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังอนาคตได้ 

ซึ่งไม่มีเจ้าของบ้านคนไหนอยากพบเจอนั่นก็คือ ปัญหาจากการที่บ้านทรุด และพื้นบ้านทรุดตัว เพราะแน่นอนว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ยากและใช้เวลาในการแก้ไขให้ตรงจุด ดังนั้นเพื่อเลี่ยงไม่ให้เจอกับปัญหา บ้านทรุด เราจึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหา บ้านทรุด ก่อนที่จะสายเกินแก้

บ้านทรุดเกิดจากสาเหตุอะไร ?

บ้านทรุด และพื้นบ้านทรุดตัว มักเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดย 2 ปัจจัยหลัก มาจากการเลือก “เสาเข็ม” และ “พื้นผิวหน้าดิน” ที่ใช้ในการสร้างบ้าน ปัญหาบ้านทรุด เกิดขึ้นได้ทั้งตอนที่เราเริ่มสร้างบ้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราต่อเติมบ้าน ซึ่งถ้าหากบ้านเกิดรอยร้าวจากการที่บ้านทรุดตัวลง หลายคนอาจคิดว่าจะแก้ไขปัญหาโดยการเก็บรอยร้าวของผนังด้วยการใช้โฟมอุดรอยร้าวและทาสีทับ ซึ่งวิธีนี้อาจจะเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเสียมากกว่า

4 สาเหตุ บ้านทรุดและพื้นทรุดจากเสาเข็ม

บ้านทรุดที่เกิดจากตัว “เสาเข็ม” มาจากหลายสาเหตุ เราจึงขอพาไปดูสาเหตุอื่น ๆ และวิธีการแก้ไขปัญหาบ้านทรุด โดยเริ่มกันที่สาเหตุแรก คือ

1. ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ

โดยปกติในการสร้างบ้านควรลงเสาเข็มให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง เพราะจะได้มีแรงต้านช่วยพยุงให้บ้านมีความแข็งแรง แต่สำหรับบ้านที่มีเสาเข็มยาวไม่ลึกถึงชั้นดินแข็ง นั่นเท่ากับว่าน้ำหนักของบ้านทั้งหลังจะมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับอยู่เท่านั้น ต้องทำใจก่อนเลยว่า อาจส่งผลให้บ้านทรุดและพื้นทรุดตัวอย่างรวดเร็วในอนาคตได้ โดยเฉพาะหากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดินซึ่งเคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียดทานของดินจะยิ่งน้อย อัตราการเกิดบ้านทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตามไปด้วย 

สำหรับความลึกของเสาเข็มที่เหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ บางพื้นที่ที่มีชั้นดินแข็งมากๆ เช่น บนภูเขาหรือพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ก็อาจจะไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมาก หรือใช้เพียงฐานรากแบบไม่ต้องมีเสาเข็มได้เลย

2.ปลายของเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน

ปลายเสาเข็มของบ้านหลังเดียวกันอาจจะมีระดับของชั้นดินที่ไม่เท่ากัน หรืออยู่ในดินคนละประเภทกัน หากออกแบบหรือใช้เสาเข็มประเภทเดียวกันเท่ากันทั้งหมด ทำให้บ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน อาจจะนำไปสู่การทรุดตัว หรือส่งผลทำให้เกิดรอยแตกร้าวบริเวณตัวบ้านได้ ดังนั้นวิธีที่เราแนะนำ คือ การเจาะสำรวจดิน (Soil boring test) เป็นการเจาะหรือขุดดินเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ทราบชนิดของดิน การเรียงตัวของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดิน หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับดิน  เพื่อดูความแข็งแรงของดินและใช้สหรับคำนวณหาการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้าง เพื่อออกแบบฐานรากและเสาเข็มให้เหมาะสมต่อไป

3. เสาเข็มแตกหัก

รู้หรือไม่ว่า หากเสาเข็มชำรุดจะไม่สามารถถ่ายเทน้ำหนักไปยังดินแข็งได้ ทำให้ตัวบ้านเกิดการทรุดเอียง ซึ่งการทรุดในลักษณะนี้จะไม่พบรอยแตกที่โครงสร้างส่วนบน แต่จะพบรอยแตกที่ฐานรากหรือเสาตอม่อ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวในการซ่อมแซม

4. เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ

การเลือกใช้เสาเข็มอาจจะไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องของความยาวเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าหากเราละเลย โดยที่ไม่ได้สำรวจสภาพชั้นดินก่อน ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่น เจอดินที่เพิ่งถมมาใหม่ๆยังไม่แน่นตัว หรือคำนวณการใช้เสาเข็มมาไม่เพียงพอ จนทำให้เสาเข็มนั้นรับน้ำหนักของชั้นดินไม่ได้นำไปสู่ปัญหาบ้านเอียงหรือบ้านทรุด เป็นต้น

พื้นผิวหน้าดิน ก็เป็นสาเหตุให้บ้านทรุดและพื้นทรุด

การเคลื่อนตัวหรือการทรุดของดิน มักเกิดขึ้นหลังจากที่บ้านสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การขุดดินบริเวณข้างเคียง จึงทำให้ดินเกิดการเคลื่อนตัว และดันเสาเข็มให้เคลื่อนออกจากจุดเดิม เป็นต้น  

การไหลของดินจะเกิดขึ้นได้กับพื้นที่ที่มีความต่างของระดับของพื้นผิวดิน พบได้ในอัตราที่สูงมาก โดยเฉพาะถ้าบริเวณนั้นเป็นดินประเภท ดินเหนียวอ่อน โดยมีโอกาสไหลของดินได้ง่าย เช่น บริเวณริมแม่น้ำ จึงควรมีการออกแบบโครงสร้างมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของตัวบ้านได้อย่างเหมาะสม หรือแนะนำให้ทำกำแพงป้องกันการเลื่อนไหลของดินให้มีความแข็งแรงเพียงพอก่อนที่จะติดตั้งเสาเข็มของบ้าน

เมื่อรู้จุดเริ่มต้นของสาเหตุการเกิดบ้านทรุดและวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นแล้ว สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มสร้างบ้านที่ไม่ต้องการพบกับปัญหาบ้านทรุดในภายหลัง ควรจะทำการเตรียมความพร้อมของหน้าพื้นผิวดินในที่ดินที่เราจะทำการสร้างบ้านให้ดีเสียก่อน และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ การฝังเสาเข็มให้แน่นพอที่จะทำให้โครงสร้างนั้นมีความแข็งแรง 

ดังนั้นคุณควรสำรวจรอยร้าวธรรมดาทั่วไปที่คุณเคยมองข้ามให้ดี เพราะนั่นอาจจะเป็นต้นกำเนิดของความเสียหายที่ทำให้บ้านทั้งหลังนั้นทรุดตัวในภายหลังก็อาจเป็นได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างบ้านเราพร้อมให้คำปรึกษาคุณโดยทีมช่างผู้ชำนาญการในการสร้างบ้านจาก ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้าน ที่พร้อมจะดูแลทุกขั้นตอนในกระบวนการก่อสร้างเพื่อให้คุณได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมในการสร้างบ้านที่แข็งแรงและปลอดภัย


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

5 วัสดุประตูบ้านยอดฮิต เลือกประตูแบบไหนให้เข้ากับบ้านของคุณ
25 ก.ย. 2564

5 วัสดุประตูบ้านยอดฮิต เลือกประตูแบบไหนให้เข้ากับบ้านของคุณ

รอบรู้เรื่องบ้าน
8 ไอเดีย ออกแบบบ้าน ชั้นเดียว สไตล์มินิมอล มูจิ
29 พ.ค. 2565

8 ไอเดีย ออกแบบบ้าน ชั้นเดียว สไตล์มินิมอล มูจิ

รอบรู้เรื่องบ้าน
4 เทคนิค สร้างบ้านให้โดนใจผู้สูงอายุ
01 ส.ค. 2564

4 เทคนิค สร้างบ้านให้โดนใจผู้สูงอายุ

รอบรู้เรื่องบ้าน