6 เทคนิค สร้างบ้านเก็บเสียง ไร้เสียงรบกวน ถูกใจคนรักความสงบ

6 เทคนิค สร้างบ้านเก็บเสียง ไร้เสียงรบกวน ถูกใจคนรักความสงบ

28 พ.ค. 2565   ผู้เข้าชม 1,996

เพื่อการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ การสร้างบ้านเก็บเสียง เพื่อลดเสียงสิ่งรบกวนจากภายนอกถือเป็นบ้านในฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักความสงบ โดยการสร้างบ้านเก็บเสียงนั้นทำได้หลากหลายวิธี แต่ก่อนจะเริ่มออกแบบสร้างบ้านเก็บเสียง เจ้าของบ้านควรรู้เสียก่อนว่าเสียงรบกวนเจ้าปัญหานั้นเกิดจากปัจจัยที่เกิดขึ้นนอกบ้านหรือในบ้าน เพื่อจะได้แก้ปัญหาและจัดการได้ตรงจุด

แล้วอะไรคือ สาเหตุของเสียงรบกวนเจ้าปัญหา?

แหล่งกำเนิดหรือที่มาของเสียงรบกวนแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง คือ เสียงรบกวนจากปัจจัยภายนอก เช่น เสียงรถวิ่ง เสียงแตร สถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบ ๆ อย่าง โรงเรียน วัด ตลาด เป็นต้น เสียงรบกวนจากปัจจัยภายใน เช่น เสียงที่ดังทะลุผ่านผนังห้อง รูปลั๊กไฟ ช่องโหว่เหนือคานหรือเพดาน จุดที่เป็นรอยต่อต่าง ๆ ซึ่งหากเรารู้แหล่งที่มาของเสียงแล้วก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยวันนี้ ปัญญาฤทธิ์โฮม อยากนำเสนอ 6 เทคนิคดี ๆ ในการสร้างบ้านเก็บเสียง ที่รับรองได้เลยว่าจัดการเสียงรบกวนทั้งในและนอกบ้านได้อยู่หมัด

1. เลือกทำเลที่ตั้งและจุดที่ต้องการสร้างบ้าน

หากเป็นไปได้แนะนำให้เลือกสร้างบ้านในจุดที่ ห่างไกลจาก ชุมชน ตลาด โรงเรียน วัด ถนนใหญ่ เพราะเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่ไม่สามารถควบคุมได้ กรณีที่เลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้เลือกวางตำแหน่งของตัวบ้านให้คงเหลือพื้นที่ว่างโดยรอบบ้านเอาไว้อย่างน้อย 30 % ของขนาดพื้นที่ทั้งหมด ควรจัดตำแหน่งของตัวบ้าน โดยเว้นระยะห่างจากแนวรั้วกั้นหรือแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้มากที่สุด ช่วยให้ระดับเสียงรบกวนจากภายนอกจะลดลงมากถึง 6 เดซิเบล ในทุก ๆ ระยะห่างที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง


2.สร้างแนวรั้วดูดซับเสียง

รั้วบ้านนอกจากประโยชน์ในด้านการสร้างแนวกั้นเพื่อกำหนดขนาดพื้นที่ของที่ดินและป้องกันอันตรายจากภายนอกแล้วนั้น ยังสามารถออกแบบให้มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงภายนอกได้อีกด้วย ด้วยการสร้างรั้วแบบกำแพงปูนฉาบ นอกจากจะแข็งแรง ยังช่วยดูดซับเสียงภายนอกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งความสูงและระยะห่างของรั้วกับตัวบ้านก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงภายนอกเช่นกัน โดยรั้วควรสูงจากแหล่งกำเนิดของเสียง 3 เท่าจึงจะเป็นระดับที่เหมาะสม เช่นหากแหล่งกำเนิดเสียงคือ ถนนที่มีรถวิ่งตลอดเวลา ควรก่อกำแพงสูงจากพื้นถนนอย่างน้อย 3 เมตร โดยวัสดุที่นิยมนำมาทำรั้วในปัจจุบันล้วนมีประสิทธิภาพการป้องกันเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย

ประเภทรั้ว ความหนา (ซม.) ป้องกันเสียง (dBA)
รั้วก่ออิฐฉาบปูน 20 50
รั้วก่ออิฐธรรมดา 7.5 40
รั้วไม้ 2 25
รั้วสังกะสี 0.4 17

3.จัดตำแหน่งห้องเลี่ยงเสียงรบกวน

การจัดวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ ภายในบ้านสามารถจัดสรรพื้นที่หรือห้องที่ต้องการความสงบเป็นพิเศษ เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ห้องพระ ห้องอ่านหนังสือ ควรจัดวางให้ตำแหน่งของห้องอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงให้มากที่สุด เช่นเดียวกับพื้นที่ภายในบ้าน ห้องที่ต้องการความสงบไม่ควรอยู่ใกล้กับห้องที่มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เกือบตลอดเวลา เช่น โรงจอดรถ ห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว 


4. ช่วยให้บ้านเก็บเสียง ด้วยกำแพง 2 ชั้น

นอกจากกำแพง  2 ชั้น จะมีคุณสมบัติเด่นเรื่องการป้องกันความร้อนแล้ว อีกหนึ่งข้อดีคือ ช่วยป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ เจ้าของบ้านหลายรายเลือกก่อกำแพง 2 ชั้นเฉพาะห้องที่ต้องการความเงียบสงบเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพื้นที่มากเกินไป หรือการติดวอลล์เปเปอร์ตกแต่งผนังแบบหนาชนิดที่บุด้วย PE Foam เข้าไปก็เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับเสียงได้ดียิ่งขึ้น


5. ฉนวนกันเสียง วัสดุสำคัญช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้บ้านเก็บเสียง

ฉนวนกันเสียง คือ แผ่นดูดซับเสียงที่ผลิตจากใยแก้วหรือไฟเบอร์ชนิดพิเศษ มีความหนาสูงสุดถึง 100 มิลลิเมตร สามารถติดตั้งได้ 2 แบบคือ ติดตั้งโครงเหล็กเข้าผนังห้องเพื่อใส่แผ่นฉนวนกันเสียงและปิดทับด้วยแผ่นไม้อัด หรือ ทากาวบนแผ่นฉนวนกันเสียงแล้วติดตั้งเข้ากับผนังห้องที่ต้องการเก็บเสียงได้เล ฉนวนกันเสียงนั้นสามารถดูดซับเสียงได้ทั้งจากภายในออกสู่ภายนอก และภายนอกเข้าสู่ภายใน โดยประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงวัดได้จากค่า STC (Sound Transmission Class) หรือค่าประสิทธิภาพของการป้องกันเสียงหากค่าSTC ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดูดซับเสียงรบกวนได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น 


6.วัสดุสร้างบ้านที่ช่วยป้องกันและลดเสียงรบกวน

หน้าต่าง คาน เพดาน คือ จุดที่มักจะเป็นช่องโหว่และเสียงสามารถเล็ดลอดผ่านได้ง่าย สำหรับหน้าต่างสามารถเลือกใช้วัสดุกระจกที่มีความหนาเป็นพิเศษและมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง พร้อมกับเสริมด้วยการติดแผ่นดูดซับเสียงตามร่องหน้าต่างจะยิ่งช่วยป้องกันเสียงที่เล็ดลอดผ่านทางหน้าต่างได้เป็นอย่างดีในส่วนของคานหรือเพดาน สามารถก่อกำแพงเสริมเพื่อปิดช่องโหว่ หรือจะเลือกติดผ้าม่านที่มีความหนาและมีคุณสมบัติดูดซับเสียงได้ เพื่อลดช่องว่างที่เป็นทางผ่านของเสียงได้อีกวิธีหนึ่ง

แต่ละห้องของบ้านก็ย่อมต้องการความเงียบสงบและการป้องกันเสียงรบกวนที่ต่างกัน ดังนั้นความพิถีพิถันในการเลือกใช้วัสดุสำหรับดูดซับเสียงย่อมมีผลต่อการใช้งาน เสียงที่รบกวนเปรียบเสมือนมลภาวะทางเสียงที่จะคอยบั่นทอนและรบกวนความสงบสุขยามที่ต้องพักอาศัยภายในบ้าน หากปล่อยทิ้งไว้ไม่แก้ไข สุดท้ายอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจให้แย่ลงได้ สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหาเสียงรบกวนภายในบ้าน ลองนำ 6 เทคนิคที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ไปปรับใช้เพื่อสร้างบ้านเก็บเสียงสำหรับเก็บทุกความสุขภายในบ้านของคุณได้มากยิ่งขึ้นกันดูครับ

หากต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบบ้านปรึกษา ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่ ที่จะช่วยออกแบบบ้านในสไตล์คุณ ด้วยวัสดุเกรดพรีเมียมที่จะช่วยป้องกันเสียงรบกวนถูกใจคนรักสงบอย่างแน่นอน เรามีบริการสร้างบ้านแบบครบวงจร ทั้งออกแบบและตกแต่งภายใน จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี มีพื้นที่ให้บริการในเขตจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง และพื้นที่ภาคเหนือตอนบน


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

6 กฎหมายการสร้างบ้าน ฉบับเข้าใจง่ายที่คุณควรรู้!
25 ส.ค. 2564

6 กฎหมายการสร้างบ้าน ฉบับเข้าใจง่ายที่คุณควรรู้!

รอบรู้เรื่องบ้าน
เปิดตำรา ฤกษ์สร้างบ้านปี 2565 สร้างบ้านฉบับสายมูให้ อยู่เย็นเป็นสุข
29 พ.ย. 2564

เปิดตำรา ฤกษ์สร้างบ้านปี 2565 สร้างบ้านฉบับสายมูให้ อยู่เย็นเป็นสุข

รอบรู้เรื่องบ้าน
เลือก รางน้ำฝน แบบไหนดี ให้เหมาะกับบ้าน แถมยังดูแลง๊ายง่าย
26 ก.ย. 2565

เลือก รางน้ำฝน แบบไหนดี ให้เหมาะกับบ้าน แถมยังดูแลง๊ายง่าย

รอบรู้เรื่องบ้าน