6 กฎหมายการสร้างบ้าน ฉบับเข้าใจง่ายที่คุณควรรู้!

6 กฎหมายการสร้างบ้าน ฉบับเข้าใจง่ายที่คุณควรรู้!

20 ส.ค. 2564   ผู้เข้าชม 3,138

มารู้จักกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านกันดีกว่า เพราะบ้านเป็นที่พักอาศัยและหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนควรมี ทำให้เราได้เห็นบ้านหรืออาคาร ได้มีก่อสร้างขึ้นไปทั่วทุกพื้นที่ไว้ใช้สำหรับอยู่อาศัยรวมไปถึงการใช้สอยประโยชน์อื่น ๆ และแน่นอนว่าการที่เราจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตหรือบริเวณใกล้เคียงกันนั้น จำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายสร้างขึ้นมาไว้สำหรับคุ้มครองและควบคุมให้เกิดความเป็นระเบียบ สวยงาม โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อาศัยอื่น ๆ ในบริเวณ

บทความนี้ ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่ เราได้รวบรวม 6 กฎหมายการสร้างบ้าน ฉบับเข้าใจง่ายมาให้คุณได้ศึกษาก่อนสร้างบ้าน ที่จะทำให้การสร้างบ้านของคุณง่ายนิดเดียวและที่สำคัญคุณจะหมดกังวลกับเรื่องการขอเอกสารอนุญาตก่อสร้างบ้านอย่างแน่นอน 

ทำไมถึงต้องมีกฎหมายควบคุมอาคารหรือการสร้างบ้าน ?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในทางกฎหมายนั้นเราจะเรียกที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ว่า “อาคาร” ซึ่งอาคารในที่นี้ได้แก่ ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และยังรวมถึงสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดที่บุคคลสามารถอาศัยและใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการสร้างบ้านนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้กฎหมายเข้ามาควบคุม เพราะกฎหมายควบคุมอาคารหรือสร้างบ้านเหล่านี้จะช่วยคุ้มครองผู้พักอาศัยหรือผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารให้ได้รับความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบระบายอากาศ รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแบบแผนที่กฎหมายกำหนด 

ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารหรือการสร้างบ้านไม่เพียงแต่จะคุ้มครองผู้อาศัยหรือผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารแล้ว แต่ยังควบคุมความเป็นระเบียของอาคารและบ้านเรือน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายนอกอีกด้วย เช่น การจัดสรรพื้นที่การก่อสร้างบ้านในสัดส่วนที่เหมาะสม ระยะห่างตัวอาคารกับถนน รวมไปถึงเรื่องของความสูงของอาคาร เป็นต้น

มาดูกันดีกว่าว่ากฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านฉบับเข้าใจง่ายนั้นมีอะไรบ้าง ?

1. สร้างบ้านในอัตราส่วน 70:30 

การสร้างบ้านหรืออาคารตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าจะต้องสร้างบ้านเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินและเว้นที่ว่างไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนนี้ถือว่าดีที่สุด ซึ่งที่ว่างในที่นี้หมายถึง พื้นที่ที่ไม่มีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ มาปกคลุมบริเวณนั้น เพราะพื้นที่ว่างนี้ทางกฎหมายได้สงวนไว้ใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นเพื่อป้องกันความแออัดในพื้นที่ที่มากเกินไป แต่ใช่ว่าเจ้าของที่ดินจะไม่สามารถก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ บนเนื้อที่ 30 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือได้ เพราะพื้นที่ว่างนี้เจ้าของที่สามารถจัดสรรไว้สำหรับทำพื้นที่สีเขียว บ่อน้ำ ที่พักขยะ หรือแม้กระทั่งสร้างสระว่ายน้ำได้เช่นกัน

2. ห้ามสร้างบ้านติดถนนเด็ดขาด!

หากคุณกำลังวางแผนที่จะสร้างบ้าน แน่นอนว่าการสร้างบ้านติดถนนคงไม่ใช่เรื่องดีมากนัก ไม่เพียงแต่คุณจะไม่มีพื้นที่ใช้สอยหน้าบ้าน ลดความเป็นส่วนตัวของผู้พักอาศัย ยิ่งไปกว่านั้นในทางกฎหมายแล้วอาจถือเป็นการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะอีกด้วย ทางกฎหมายควบคุมอาคารได้ระบุไว้ว่าตัวบ้านจะต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางของถนนอย่างน้อย 3 เมตร ในกรณีที่บ้านมีความสูงไม่เกิน 8 เมตรและถนนกว้างไม่เกิน 6 เมตร แต่หากบ้านของคุณมีความสูงเกิน 8 เมตรและถนนกว้างไม่ถึง 10 เมตร จะต้องสร้างบ้านให้มีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร

3. ต้องสร้างบ้านหรืออาคารให้ทุกห้องมีพื้นที่ระบายอากาศ

การสร้างบ้านหรือาคารทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ทุกห้องควรมีพื้นที่สำหรับระบายอากาศภายในห้องอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น รวมไปถึงห้องเก็บของ จะต้องมีหน้าต่างหรือช่องไว้สำหรับระบายอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในตัวอาคาร หากบ้านหรืออาคารนั้นมีการสร้างพื้นที่ของประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดในห้อง จะถือเป็นการทำผิดกฎหมายควบคุมอาคารทันที

4. สร้างบ้านทั้งที! อย่าละเลยความสูงของฝ้าเพดาน

ความสูงฝ้าและเพดานเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในการสร้างบ้านจริง ๆ เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้บ้านหรืออาคารของคุณมีความโปร่งโล่งและสบาย ทางกฎหมายควบคุมอาคารได้ระบุไว้ว่า การสร้างบ้านโดยทั่วไปจะต้องมีความสูงของฝ้าเพดานไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุด

5. สร้างบ้านให้มีระยะห่างไว้ก่อนปลอดภัยที่สุด

การสร้างบ้านให้มีระยะถอยร่นจากเขตพื้นที่อื่น ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความเป็นไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้พักอาศัย แต่ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สัญจรไว้สำหรับทำนุบำรุงบ้านได้อีกด้วย การสร้างบ้านนั้นทางกฎหมายควบคุมอาคารได้ระบุไว้ว่า หากคุณจะต้องสร้างบ้านติดกับเพื่อนบ้านหรือที่ดินผู้อื่น จำเป็นต้องสร้างบ้านให้มีระยะห่างจากเขตรั้วอย่างน้อย 2 เมตรรอบบ้าน (สำหรับบ้านหนึ่งถึงสองชั้น) และระยะห่าง 3 เมตร (สำหรับบ้านสามชั้น)

6. สร้างบ้านในเนื้อที่จำกัดแต่ไม่สามารถเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ปกติ

กรณีการก่อสร้างบ้านหรืออาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร และไม่สามารถเว้นระยะห่างของบ้านได้ตามที่กำหนด ทางกฎหมายควบคุมอาคารได้อนุโลมให้สร้างบ้านได้ แต่ระบุให้มีระยะห่างของบ้านอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ในขณะที่บ้านหรืออาคารฝั่งที่ติดกับรั้วของพื้นที่อื่น จะต้องเป็นผนังทึบเท่านั้น แต่หากบ้านหรืออาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 300 ตารางเมตร จะต้องเว้นระยะห่างจากเขตพื้นที่อื่นอย่างน้อย 1 เมตรโดยรอบทุกกรณี จึงจะถูกต้องตามที่กฎหมายอาคารได้ระบุไว้

ผู้ที่กำลังวางแผนสร้างบ้านไม่ควรพลาดที่จะศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคารเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากคุณไม่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านให้ดีเสียก่อน อาจจะทำให้เสียเงินและเวลาโดยใช่เหตุ ถึงแม้ว่าที่ดินที่เราซื้อหรือครอบครองนั้นจะถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่ใช่ว่าคุณจะสามารถทำการก่อสร้างบ้านได้ตามอำเภอใจ เพราะแน่นอนว่าแต่ละคนมีความคิด ความชอบ และความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นกฎหมายควบคุมอาคารนี้จึงถูกกำหนดไว้สำหรับควบคุมการก่อสร้างบ้านให้เป็นไปตามแบบแผนและข้อปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในสังคม

หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านที่มีคุณภาพและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างบ้าน ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่ ยินดีให้บริการครับ เราจะทำให้การสร้างบ้านของคุณจากเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย ปัญญาฤทธิ์โฮม เราให้บริการรับสร้างบ้านแบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนสร้างไปจนถึงส่งมอบบ้านที่มีคุณภาพแก่คุณ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี ซึ่งปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่มีเขตพื้นที่ให้บริการ ดังนี้ รับสร้างบ้านเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

5 เทคนิค ปรับพื้นที่บ้านที่จำกัดให้กว้างขึ้น ด้วยวิธีการออกแบบตกแต่งภายใน
29 ส.ค. 2565

5 เทคนิค ปรับพื้นที่บ้านที่จำกัดให้กว้างขึ้น ด้วยวิธีการออกแบบตกแต่งภายใน

รอบรู้เรื่องบ้าน
ทรงหลังคายอดฮิตปี 2021 ที่มือใหม่ไม่ควรพลาดก่อนสร้างบ้าน
27 ต.ค. 2564

ทรงหลังคายอดฮิตปี 2021 ที่มือใหม่ไม่ควรพลาดก่อนสร้างบ้าน

รอบรู้เรื่องบ้าน
ออกแบบ โรงจอดรถ อย่างไร ให้ตอบโจทย์การใช้งาน แข็งแรง และทนทาน
20 มิ.ย. 2565

ออกแบบ โรงจอดรถ อย่างไร ให้ตอบโจทย์การใช้งาน แข็งแรง และทนทาน

รอบรู้เรื่องบ้าน